Activity


ร่วมจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจจุบันนี้บริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำของประเทศไทยอยู่ในสภาวะวิกฤต มีการรุกรานแผ้วถางเพื่อทำไร่และสร้างที่อยู่อาศัยตลอดเวลาทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบโดยรวมทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับสากล ดังนั้น ด้วยทางหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์นกแห่งประเทศไทยจึงได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง เพื่อเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติของป่าไม้และเป็นจุดเริ่มต้นของความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และเป็นแหล่งให้การบริการเชิงนิเวศน์ ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์พหุวิทยาการ และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ร่วมจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้น  เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และเทคนิคในการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ปลูกฝังให้หลายภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า เป็นการกระจายความรู้สู่ชุมชนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง และนำความหลากหลายทางชีวภาพกลับคืนสู่ป่า ในระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ณ Biology Department, Doi Suthep Nursery and Ban Mae Sa Mai จังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรมวันที่ 13 มิถุนายน 2556

ในช่วงเช้า ทีมจากหน่วยวิจัยและฟื้นฟูป่า(FORRU) จังหวัดกระบี่, สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST), ศูนย์วนวัฒวิจัยภาคเหนือ และ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (HRDI) ได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่หน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ห้องประชุม 2 ภาควิชาชีววิทยา ในหัวข้อเกี่ยวกับแนวคิดของการฟื้นฟูป่าของหน่วยวิจัยและฟื้นฟูป่า ความสำคัญของป่า ความสำพันธ์ระหว่างป่ากับสังคม  ทั้งยังให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูป่าโดยวิธีพันธุ์ไม้โครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีที่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เลือกใช้

ในช่วงบ่ายเป็นการสัมมนาที่ห้องพาณี ภาควิชาชีววิทยา ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้าร่วมการสัมมนาได้ โดยหัวข้อการสัมมนาในช่วงบ่ายจะเกี่ยวข้องกับภาระ และการทำงานของหน่วยงานที่เข้าร่วมการสัมมนา นอกจากนี้หน่วยวิจัยและฟื้นฟูป่า (FORRU) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างฐานข้อมูลของพันธุ์ไม้ และประโยชน์จากฐานข้อมูล ในช่วงท้ายของการอบรม มีการเยี่ยมชมหอพันธุ์ไม้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย อ.แม็กซ์เวลล์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ไม้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาตัวอย่างพันธุ์พืช สำหรับเป็นข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ไม้จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม

กิจกรรมในวันที่ 14 มิถุนายน 2556 จัดขึ้นที่เรือนเพาะชำดอยสุเทพ โดยเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลของต้นไม้บนดอยสุเทพ เดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเมล็ดพันธุ์ และการย้ายต้นกล้าลงถุงปลูก

วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เป็นกิจกรรมการปลูกป่าที่หมู่บ้านแม่สาใหม่ ร่วมกับชาวบ้านแม่สาใหม่ และอาสาสมัครจากมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์


Date : Aug. 2013, 11

   |    Home    |    About Us    |    Committee    |    Administrator    |    Personal    |    Contact us

Environmental Science Research Centre : ESRC
7th floor, 30 years (SCB1) Faculty of Science Chiang Mai University Tel / fax: 0-5394-3479
Copyright 2013 Environmental Science Research Center Allright reserved.