Activity


หัวหน้าศูนย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการของ Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สำนักข่าวแห่งชาติ ในหัวข้อข่าว สกว. เฝ้าระวังกลางเดือนเมษายนนี้อาจเกิดปัญหาไฟป่าหมอกควันรุนแรง

สกว. เฝ้าระวังกลางเดือนเมษายนนี้อาจเกิดปัญหาไฟป่าหมอกควันรุนแรง
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ข่าว : 2 เมษายน 2559
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เฝ้าระวังกลางเดือนเมษายนนี้อาจเกิดปัญหาไฟป่าหมอกควันรุนแรง หลังมาตรการห้ามเผาสิ้นสุด ขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัจจัยสำคัญของการลดมลพิษในอากาศ
นางสาวสมพร จันทระ นักวิจัยจากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย คณะนักวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์หมอกควัน - ไฟป่า มาตรการในการห้ามเผา และแนวทางการป้องกันไฟป่าของชุมชนต้นแบบในพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด โดยนักวิจัยจากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นช่วงเกิดวิกฤตไฟป่าหมอกควันค่อนข้างรุนแรง โดยหลายพื้นที่เกิดจุดความร้อน หรือ Hotspot ประกอบกับ สภาพอากาศแห้งแล้งและร้อนจัด ทำให้ดับไฟได้ยากขึ้น แม้ภาพรวมพื้นที่การเผาปีนี้ลดลงเหลือ 4,400 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น พื้นที่ป่าเผาลดลงเหลือ 2,300 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่เกษตรเผาลดลงเหลือ 2,100 ตารางกิโลเมตร หลังภาครัฐใช้มาตรการชิงเผาและห้ามเผาล่วงหน้า 2 เดือน แต่มีความกังวลช่วงหลังมาตรการห้ามเผาสิ้นสุดลง หากสภาพอากาศเอื้ออำนวยการเกิดการลักลอบเผาขึ้นได้และเป็นโอกาสเสี่ยงเกิดไฟป่าหมอกควันรุนแรงช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งโชคดีเกิดพายุฤดูร้อนและฝนตกจะไม่สามารถเผาได้ ทั้งนี้ ปัญหาหมอกควันในประเทศไทย ยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเมียนมาและลาว โดยเฉพาะระหว่างวันที่ 24 - 25 มีนาคมที่ผ่านมา จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดนรุนแรงสูงสุดถึง 321 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งรัฐบาลต้องหารือร่วมกับทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน หาข้อยุติหรือลดการเผาพื้นที่การเกิดหมอกควันข้ามแดนในอนาคต เพื่อภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควันในปี 2563
ขณะที่ นายชาคริต โชติอมรศักดิ์ นักวิจัยจากศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเกิดหมอกควัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ส่งผลให้การระบายอากาศในการกระจายมลพิษเพื่อลดความเข้มข้นได้น้อยลง ประกอบกับ ที่ผ่านมากโครงสร้างระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงจากพฤติกรรมและฝีมือมนุษย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายนต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้งและร้อนจัด
ข้อมูลข่าวและที่มา
จำนวนผู้เข้าชม : 176
ผู้สื่อข่าว : ปิยาพรรณ ยังเทียน / สวท.
Rewriter : ศศิธร ภู่จีนาพันธ์ / สวท. ศศิธร ภู่จีนาพันธ์ / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://nwnt.prd.go.th

 

คลิกเพื่อดูรายละเอียดที่ http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNEVN5904020020003

 

 


Date : Apr. 2016, 10

   |    Home    |    About Us    |    Committee    |    Administrator    |    Personal    |    Contact us

Environmental Science Research Centre : ESRC
7th floor, 30 years (SCB1) Faculty of Science Chiang Mai University Tel / fax: 0-5394-3479
Copyright 2013 Environmental Science Research Center Allright reserved.