Activity


ศูนย์วิจัยฯ พหุวิทยาการ ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มช. ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในคูเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์พหุวิทยาการ ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในคูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 11 เมษายน 2560 โดยวิเคราะห์สมบัติบางประการของน้ำ ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิน้ำ ค่าการนำไฟฟ้า ไนเตรทไนโตรเจน แอมโมเนียมไนโตรเจน ฟอสเฟตฟอสฟอรัส ออกซิเจนละลายน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้สลายสารอินทรีย์ (ยกเว้นวันที่ 11 เม.ย.) ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม และแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นในแหล่งน้ำ จากการสุ่มเก็บตัวอย่าง จำนวน 8 จุด ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในบริเวณจุดเก็บตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าสามารถเล่นน้ำได้บางบริเวณ นอกจากนี้บางจุดเก็บตัวอย่างหรือบริเวณใกล้เคียง พบการเจริญของไซยาโนแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ ดังนั้น หากท่านใดต้องการเล่นน้ำในคูเมืองในช่วงสงกรานต์ ควรสังเกตสภาพแหล่งน้ำ และที่สำคัญ หากจุดใดในคูเมือง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติใด พบการเจริญของไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ในปริมาณมาก ไม่ควรสัมผัสกับน้ำดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้เกิดการระคายเคือง และหากไซยาโนแบคทีเรียดังกล่าว เป็นสายพันธุ์ที่สร้างสารพิษ จะทำให้มีโอกาสได้รับสารพิษสะสมในร่างกายได้ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์พหุวิทยาการ ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในคูเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 11 เมษายน 2560 โดยวิเคราะห์สมบัติบางประการของน้ำ ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิน้ำ ค่าการนำไฟฟ้า ไนเตรทไนโตรเจน แอมโมเนียมไนโตรเจน ฟอสเฟตฟอสฟอรัส ออกซิเจนละลายน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ใช้สลายสารอินทรีย์ (ยกเว้นวันที่ 11 เม.ย.) ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม และแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นในแหล่งน้ำ จากการสุ่มเก็บตัวอย่าง จำนวน 8 จุด ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในบริเวณจุดเก็บตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าสามารถเล่นน้ำได้บางบริเวณ นอกจากนี้บางจุดเก็บตัวอย่างหรือบริเวณใกล้เคียง พบการเจริญของไซยาโนแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ ดังนั้น หากท่านใดต้องการเล่นน้ำในคูเมืองในช่วงสงกรานต์ ควรสังเกตสภาพแหล่งน้ำ และที่สำคัญ หากจุดใดในคูเมือง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติใด พบการเจริญของไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ในปริมาณมาก ไม่ควรสัมผัสกับน้ำดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้เกิดการระคายเคือง และหากไซยาโนแบคทีเรียดังกล่าว เป็นสายพันธุ์ที่สร้างสารพิษ จะทำให้มีโอกาสได้รับสารพิษสะสมในร่างกายได้

ผู้สนใจสามารถติดตาม ร่วมแสดงความคิดเห็น หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>
 

:: วันที่ 12 เมษายน 2560 


More Images.


Date : Apr. 2017, 12

   |    Home    |    About Us    |    Committee    |    Administrator    |    Personal    |    Contact us

Environmental Science Research Centre : ESRC
7th floor, 30 years (SCB1) Faculty of Science Chiang Mai University Tel / fax: 0-5394-3479
Copyright 2013 Environmental Science Research Center Allright reserved.